เขื่อนแม่วงก์
เขื่อนแม่วงก์ เป็นโครงการก่อสร้างในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กั้นแม่น้ำแม่วงก์บริเวณเขาชนกัน หรือเขาสบกก ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นเงิน 13,280 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 8
ปี ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2562
เขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว
มีความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57
เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่
ปริมาณกักเก็บน้ำประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร
โครงการก่อสร้างได้รับการศึกษาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจนกระทั่งได้รับการอนุมัติการก่อสร้างในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยให้เหตุผลว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำสะแกกรัง แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งจากองค์กรพัฒนาเอกชน ว่าเป็นเขื่อนขนาดเล็ก
ซึ่งไม่คุ้มค่าการลงทุน และต้องมีการสูญเสียพื้นที่ป่าถึง 18 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด รวมทั้งเสือโคร่ง ช้าง และนกยูง
โครงการ ‘เขื่อนแม่วงก์’
มีแนวคิดริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2525
โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พยายามศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ รวมทั้งผลกระทบทางด้านต่าง ๆ เรื่อยมา
ตามหลักการที่ว่าต้นแม่น้ำ หรือต้นลำน้ำทุกสาย
ควรจะมีเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำไว้สำหรับการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในฤดูแล้ง
แต่โครงการสร้าง “เขื่อนแม่วงก์”
ถูกคัดค้านเรื่อยมา ประกอบมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย ๆ
จึงไม่มีการสานต่อโครงการนี้ จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 ต่อมาปี 2555 รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จึงปัดฝุ่นโครงการดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้ง โดยบรรจุโครงการสร้าง “เขื่อนแม่วงก์” ไว้เป็น 1 ในจำนวนกว่า
10 เขื่อนขนาดเล็ก ของโครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5
แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน
และบรรเทาปัญหาภัยแล้งในฤดูร้อน
“เขื่อนแม่วงก์”
จะเป็นหนึ่งในจำนวนเขื่อนขนาดเล็ก ของโครงการบริหารจัดการน้ำ เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเฉพาะการช่วยตัดยอดน้ำไม่ให้ไหลทะลักไปสู่แม่น้ำสะแกกรัง
จ.อุทัยธานี และแม่น้ำเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์ ในช่วงฤดูฝน
โครงการเขื่อนแม่วงก์ จะใช้งบประมาณก่อสร้าง 13,000 ล้านบาท สามารถกักเก็บน้ำได้ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนลักษณะหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730
เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่
ตัวเขื่อนตั้งอยู่บริเวณแก่งลานนกยูง เขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในพื้นที่หมู่ 4
ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ กั้นลำน้ำแม่วงก์ที่มีลำคลองสาขาไปสู่แม่น้ำสะแกกรัง
จ.อุทัยธานี และอีกสายไหลจากป่าแม่วงก์ลงสู่พื้นที่ อ.แม่วงก์ อ.ลาดยาว อ.บรรพตพิสัย และมาบรรจบกับแม่น้ำปิง
ในพื้นที่ ต.วัดไทร อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
ผลกระทบเบื้องต้น
การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า
13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น
ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ
เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่
ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13
ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880
ต้น
จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์
เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น
หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่
สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน
ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549
ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด (ใน EIA
รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก
3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ
13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
เปิดข้อมูลหนุน-ค้าน โครงการเขื่อนแม่วงก์
ปะทุกลายเป็นกระแสสังคมร้อนแรงขึ้นมาอีกรอบ
กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์
ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
ประเด็นล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อมูลนิธิสืบ
นาคะเสถียร รวมถึงเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำโดยนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการ
มูลนิธิสืบฯ ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านกระบวนการจัดทำและผ่าน "อีเอชไอเอ"
หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในการสร้างเขื่อนแม่วงก์
ขณะเดียวกัน
คณะรัฐมนตรีก็มีมติตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 อนุมัติให้ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์
เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยจะใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท เวลาก่อสร้างราว 8 ปี
สำหรับข้อคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยสรุปข้อมูลจากมูลนิธิสืบฯ และเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมฯ
สำหรับข้อคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยสรุปข้อมูลจากมูลนิธิสืบฯ และเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมฯ
ทำไมต้องคัดค้าน
1. เหตุผลด้านนิเวศ
- ทำลายป่าต้นน้ำ
- อาจเกิดการลักลอบตัดไม้ริมอ่างเก็บน้ำที่ยากต่อการควบคุม
- เร่งให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกยูง เสือโคร่ง
- สูญเสียแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า
- ทำลายโอกาสการฟื้นฟูของอุทยาน
- ส่งผลกระทบต่อป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
- ระบบนิเวศถูกคุกคาม
- ง่ายต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่า
2. เหตุผลด้านเศรษฐกิจและสังคม
- เขื่อนมีขนาดเล็ก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
- เขื่อนไม่แก้ปัญหาน้ำท่วมและนํ้าแล้ง
- ทำลายแหล่งศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ทำลายความเชื่อมั่นด้านสิ่งแวดล้อมของไทย
- เป็นช่องทางให้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ
1. เหตุผลด้านนิเวศ
- ทำลายป่าต้นน้ำ
- อาจเกิดการลักลอบตัดไม้ริมอ่างเก็บน้ำที่ยากต่อการควบคุม
- เร่งให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกยูง เสือโคร่ง
- สูญเสียแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า
- ทำลายโอกาสการฟื้นฟูของอุทยาน
- ส่งผลกระทบต่อป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
- ระบบนิเวศถูกคุกคาม
- ง่ายต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่า
2. เหตุผลด้านเศรษฐกิจและสังคม
- เขื่อนมีขนาดเล็ก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
- เขื่อนไม่แก้ปัญหาน้ำท่วมและนํ้าแล้ง
- ทำลายแหล่งศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ทำลายความเชื่อมั่นด้านสิ่งแวดล้อมของไทย
- เป็นช่องทางให้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ
ความสำคัญของผืนป่าแม่วงก์
ซึ่งจะเป็นจุดสร้างเขื่อน ป่าบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเป็นป่าริมน้ำและป่าที่ราบต่ำ
ซึ่งต่ำกว่าระดับ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล,
เป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญที่สุดของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น ช้าง เสือ,
เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ป่า, ป่าแต่ละส่วนมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของป่าทั้งระบบ
ดังนั้น
การสูญเสียป่า 18 ตร.ก.ม.หรือเพียง
2 เปอร์เซ็นต์อาจดูเล็ก แต่เมื่อเทียบกับอวัยวะ
ส่วนที่ว่านี้คือ "หัวใจ" ที่ต้องรักษาไว้