วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนรายงานที่ดี


การเขียนรายงาน


ความหมายของรายงาน
        
   รายงาน  คือ  การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว   เช่น  การค้นคว้า ทางวิชาการ  การไปศึกษานอกสถานที่  การไปพักแรมค่ายเยาวชน  การประชุมกลุ่ม  การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ  เป็นต้น
      
   ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน

ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้
     
   1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ  หน้าสารบัญ
        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ
        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง

การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
        
1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 
             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน 
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  
                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน








   2.  การเขียนคำนำ
            
 การเขียน คำนำอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง



  3.  การเขียนสารบัญ
             
  การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด



การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
        
  การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7





การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม
        
การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน"

                                      

                                   เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

    ส่งท้ายเดือน "สิงหาคม" กันด้วยกิจกรรมดีๆ อย่างงานเสวนาในหัวข้อ     "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" ที่จัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบวันอภิเษกสมรสครบ 95 ปีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการยกย่องพระเกียรติในเรื่องของ "สังคมผัวเดียวเมียเดียว" ในแบบสังคมตะวันตก จนส่งผลให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทย ที่ทรงดำรงพระองค์ด้วยพระราชหฤทัยมั่นคง ผูกพันจงรักภักดีในพระราชสวามีสืบมาตลอดพระชนม์ชีพ หลังจากรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2484 ซึ่งในวาระโอกาสพิเศษนี้ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เชื้อเชิญสองสาวเวิร์กกิ้งวูแมนอย่าง น.ส.วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราช และ บก.บห.นิตยสารลิซ่าอย่าง น.ส.พิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี มาร่วมบรรยายเสวนาความรู้ถึงวัฒนาการและบทบาทของผู้หญิงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่พิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นที่รู้จัก แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มาร่วมรับฟังช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา




   สิทธิสตรีหญิงยุคใหม่..หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน  สมัยพระบาทสมเด็จพระ   จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  5 ทรง ปรับเปลี่ยนประเทศ เพื่อรับมือการเข้ามาของตะวันตก บทบาทของสตรีถูกยกระดับขึ้นมากจากเดิม  ระบบทุนนิยม ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆด้าน  เช่น การแต่งกาย อาหาร วัฒนธรรม การแสดงความคิดเห็น  สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และการยอมรับทางสังคม เป็นต้น  สตรีที่เคยถูกมองว่าเป็นเพียงช้างเท้าหลัง กลับมีบทบาทเทียบเท่ากับผู้ชาย ความเป็นผู้นำ ไม่ถูกจำกัดเฉพาเพียงผู้ชายอีกต่อไป 


  ในยุคปัจุบัน แฟชั่นปรับเปลี่ยน ความคิด ค่านิยมของคนในสังคม และเป็น   เครื่องกำหนด ฐานะทางสังคมไปโดยปริยาย  เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เทคโนโลยี ต่างๆ ช่วยให้ การดำเนินชีวิตเป็นเรื่องง่าย  สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  คำว่าแฟชั่น ไม่มีในความคิดของสตรีเลย การแต่งกาย หรือ การกระทำต่างๆ จะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด  แต่ในปัจุบัน แฟชั่น การแต่งกาย เป็นเครื่อง เสริมสร้างความมั่นใจ ให้กับสตรี เป็นอย่างมาก 






     ปัจุบันผู้หญิงเทียบเท่ากับผู้ชายอีกทั้งยัง ได้รับการยอมรับ ทางสังคมอย่างกว้างขวาง และยังสามารถ พัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ให้ล้ำหน้ากว่าผู้ชาย  บทบาทจากเดิมที่เคยมองว่า สตรีเป็นเพศที่อ่อนแอ ถูกลบเลือนไป   เพราะเกิดการยอมรับในความเป็นสตรียุคใหม่ ที่แข็งแกร่งต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง  ของสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง








วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

เอกยุทธ อัญชันบุตร


                                                                               
             เอกยุทธ อัญชันบุตร


       เอกยุทธ อัญชันบุตรหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า จอร์จ ตัน (George Tan) เป็นนักธุรกิจการเงินและอสังหาริมทรัพย์ชาว มีชื่อจากการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ ไทยอินไซเดอร์ซึ่งต่อต้านรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เคยต้องคดีแชร์ชาร์เตอร์และกบฏ 9 กันยาเมื่อพ.ศ. 2528 ก่อนหนีคดีออกนอกประเทศแล้วเดินทางกลับเมื่อขาดอายุความแล้วประวัติ
  เอกยุทธ อัญชันบุตร เกิดเมื่อเดือน 24 มิถุนายน พ.ศ. 2497เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวน 5 คน ของ ร้อยโท แปลก อัญชันบุตร นายทหารคนสนิทของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และนันทา ฉัตรกุล ณ อยุธยา จบการศึกษาที่โรงเรียนแม้นศรีวิทยา และโรงเรียนเทพประสาทวิทยา แล้วต่อมัธยมศึกษาที่โอมาฮา รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา ก่อนกลับมาทำธุรกิจรับเหมาก่อก่อสร้างร่วมกับพี่ชาย แล้วไปเรียนต่อด้านเศรษฐศาสตร์การเงินการคลังที่มหาวิทยาลัยแปซิฟิก รัฐฮาวาย


แชร์ชาร์เตอร์

 เมื่อเรียนจบ เอกยุทธเริ่มทำธุรกิจซื้อขายโภคภัณฑ์ และซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จากนั้น จึงเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายโภคภัณฑ์ และเงินตราต่างประเทศ ชื่อ บริษัทชาร์เตอร์ อินเวสท์เมนท์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 14 มิถุนายน 2526 และบริษัทชาร์เตอร์เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 24 ธันวาคม 2527 เมื่อ พ.ศ. 2526 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศสูง ถึงร้อยละ 12 เอกยุทธในวัย 24 ปี ได้คิดหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย โดยกู้เงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประมาณร้อยละ 3 มาฝากในสถาบันการเงินในประเทศเพื่อทำกำไร และนำกำไรที่ได้ไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์บริษัทนายหน้าของเอกยุทธ ในระยะแรกมีเงินลงทุนจากนายทหาร และนักการเมืองเป็นจำนวนมาก เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงจึงมีประชาชนทั่วไปนำเงินเข้ามาลงทุน และรุ่งเรืองที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2527 เมื่อประชาชนสมัยนั้นนิยมการลงทุนในเงินนอกระบบเช่น แชร์แม่ชม้อย, แชร์แม่นกแก้ว และหันมาลงทุนกับแชร์ชาร์เตอร์เป็นทอด ๆ
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยสมหมาย ฮุนตระกูล ประกาศลดค่าเงินบาท และออก พระราชบัญญัติการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีการดำเนินการทางกฎหมายกับชม้อย ทิพยโส หรือ "แม่ชม้อย" หัวหน้าวงแชร์แม่ชม้อย และพันจ่าอากาศเอกหญิง นกแก้ว ใจยืน หัวหน้าวงแชร์แม่นกแก้ว  เอกยุทธเดินทางออกนอกประเทศหลังจากมีข่าวว่าทางการจะออกหมายจับเมื่อกลางปี พ.ศ. 2528 และเกิดความตื่นตระหนกขึ้นเมื่อมีนายทหารฟ้องคดีเช็คของเอกยุทธ ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และทำให้มีผู้เข้าร้องเรียนกับกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) เป็นจำนวนหลายพันคน ทางการประกาศอายัดทรัพย์สินของเอกยุทธ อัญชันบุตร, บริษัท ชาร์เตอร์ และผู้ถือหุ้น เพื่อนำออกขายทอดตลาด


Bagdad Pact

Bagdad Pact

   Bagdad Pact  องค์การสนธิสัญญากลาง (อังกฤษ: Central Treaty Organization, ย่อ: CENTO) มีชื่อเดิมว่า องค์การสนธิสัญญาตะวันออกกกลาง ({{lang-en|Middle East Treaty Organization หรือ METO) หรือรู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาแบกแดด ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1955 โดยอิหร่าน อิรัก ปากีสถาน ตุรกี และสหราชอาณาจักร ยุบไปเมื่อ ค.ศ. 1979

 แรงกดดันและการสัญญาความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนสำคัญในการเจรจาอันนำไปสู่ความตกลง แม้สหรัฐอเมริกาไม่อาจเข้าร่วมแต่แรก "เพราะเหตุผลทางเทคนิคล้วน ๆ ด้านกระบวนการงบประมาณ" ใน ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมคณะกรรมาธิการทหารของพันธมิตร มักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในพันธมิตรสงครามเย็นที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดสำนักงานใหญ่ขององค์การเดิมตั้งอยู่ในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ใน ค.ศ. 1955-58 ก่อนย้ายไปยังกรุงอังคารา ประเทศตุรกี ใน ค.ศ. 1958-79 ไซปรัสเองก็เป็นตำแหน่งสำคัญสำหรับ CENTO เพาะตำแหน่งที่ตั้งในตะวันออกกลางและฐานทัพอังกฤษบนเกาะ   กลุ่มทางทหารในระดับภูมภาค:องค์การสนธิสัญญากลาง(เซ็นโต)ความสำคัญ องค์การสนธิสัญญากลางมีภารกิจหลัก คือ เป็นองค์การพันธมิตรเพื่อความมั่นคง ส่วนในเรื่องทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นเอง กองกำลังผสมเซ็นโตได้ดำเนินการซ้อมรบทั้งทางเรือ ทางบก และทางอากาศ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีการปฏิบัติการต่างๆภายใต้การอุปถัมภ์ของเซ็นโตในการควบคุมการบ่อนทำลายในประเทศสมาชิก ได้มีการจัดตั้งโทรคมนาคมทางทหารกินระยะทางถึง 3000 ไมล์เชื่อมโยงระหว่างกรุงอังการา(ประเทศตุรกี) กับกรุงเตหะราน(ประเทศอิหร่าน) และกับกรุงการาจี(ประเทศปากีสถาน) อีกทั้งยังได้มีการก่อสร้างการคมนาคมและการขนส่งอื่นๆอีกหลายชนิดระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิก


จากการที่ไม่สามารถดึงชาติอาหรับมาเป็นสมาชิกได้ และ (3)ไม่มีการคุกคามอย่างเปิดเผยจากรัฐคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ.1979ปากีสถานได้ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาพันธมิตรนี้ และการปฏิวัติในอิหร่านก็ทำให้อิหร่านต้องถอนตัวโดยพฤตินัยจากสนธิสัญญาพันธมิตรนี้อีกเช่นกัน ก็จึงเป็นอันยุติบทบาทของเซ็นโตด้วยประการฉะนี้  องค์การพันธมิตรในระดับภูมิภาค โดยการริเริ่มของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1955มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งระบบความมั่นคงในตะวันออกกลางเพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทาเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ชาติสมาชิกเซ็นโตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กติกาสัญญาแบกแดดจวบจนกระทั่งอิรักถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกเมื่อปีค.ศ.1959ภายหลังจากเกิดการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลนิยมตะวันตกในอิรักชาติที่เป็นสมาชิกในช่วงหลังปีค.ศ.1959ได้แก่ อังกฤษ อิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นถึงแม้ว่าจะมิได้เป็นชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการแต่ก็ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้โดยได้ลงนามในข้อตกลงแบบทวิภาคีกับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี 

 โดยมีภาระผูกพันที่จะให้การช่วยเหลือชาติที่ลงนามในสนธิสัญญานี้ต่อต้านการโจมตีของคอมมิวนิสต์ มีการจัดตั้งคณะมนตรีทำหน้าที่เป็นองค์กรสูงสุดขององค์การทั้งนี้โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะกรรมาธิการหลักๆอีก4คณะ(คือ คณะกรรมาธิการฝ่ายทหาร คณะกรรมาธิการฝ่ายเศรษฐกิจ คณะกรรมาธิการฝ่ายต่อต้านการบ่อนทำลาย และคณะกรรมาธิการฝ่ายประสานงาน) อีกทั้งยังมีสำนักเลขาธิการที่มีเลขาธิการใหญ่เป็นหัวหน้า โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงอังการา ประเทศตุรกี