วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Bagdad Pact

Bagdad Pact

   Bagdad Pact  องค์การสนธิสัญญากลาง (อังกฤษ: Central Treaty Organization, ย่อ: CENTO) มีชื่อเดิมว่า องค์การสนธิสัญญาตะวันออกกกลาง ({{lang-en|Middle East Treaty Organization หรือ METO) หรือรู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาแบกแดด ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1955 โดยอิหร่าน อิรัก ปากีสถาน ตุรกี และสหราชอาณาจักร ยุบไปเมื่อ ค.ศ. 1979

 แรงกดดันและการสัญญาความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนสำคัญในการเจรจาอันนำไปสู่ความตกลง แม้สหรัฐอเมริกาไม่อาจเข้าร่วมแต่แรก "เพราะเหตุผลทางเทคนิคล้วน ๆ ด้านกระบวนการงบประมาณ" ใน ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมคณะกรรมาธิการทหารของพันธมิตร มักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในพันธมิตรสงครามเย็นที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดสำนักงานใหญ่ขององค์การเดิมตั้งอยู่ในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ใน ค.ศ. 1955-58 ก่อนย้ายไปยังกรุงอังคารา ประเทศตุรกี ใน ค.ศ. 1958-79 ไซปรัสเองก็เป็นตำแหน่งสำคัญสำหรับ CENTO เพาะตำแหน่งที่ตั้งในตะวันออกกลางและฐานทัพอังกฤษบนเกาะ   กลุ่มทางทหารในระดับภูมภาค:องค์การสนธิสัญญากลาง(เซ็นโต)ความสำคัญ องค์การสนธิสัญญากลางมีภารกิจหลัก คือ เป็นองค์การพันธมิตรเพื่อความมั่นคง ส่วนในเรื่องทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นเอง กองกำลังผสมเซ็นโตได้ดำเนินการซ้อมรบทั้งทางเรือ ทางบก และทางอากาศ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีการปฏิบัติการต่างๆภายใต้การอุปถัมภ์ของเซ็นโตในการควบคุมการบ่อนทำลายในประเทศสมาชิก ได้มีการจัดตั้งโทรคมนาคมทางทหารกินระยะทางถึง 3000 ไมล์เชื่อมโยงระหว่างกรุงอังการา(ประเทศตุรกี) กับกรุงเตหะราน(ประเทศอิหร่าน) และกับกรุงการาจี(ประเทศปากีสถาน) อีกทั้งยังได้มีการก่อสร้างการคมนาคมและการขนส่งอื่นๆอีกหลายชนิดระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิก


จากการที่ไม่สามารถดึงชาติอาหรับมาเป็นสมาชิกได้ และ (3)ไม่มีการคุกคามอย่างเปิดเผยจากรัฐคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ.1979ปากีสถานได้ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาพันธมิตรนี้ และการปฏิวัติในอิหร่านก็ทำให้อิหร่านต้องถอนตัวโดยพฤตินัยจากสนธิสัญญาพันธมิตรนี้อีกเช่นกัน ก็จึงเป็นอันยุติบทบาทของเซ็นโตด้วยประการฉะนี้  องค์การพันธมิตรในระดับภูมิภาค โดยการริเริ่มของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1955มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งระบบความมั่นคงในตะวันออกกลางเพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทาเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ชาติสมาชิกเซ็นโตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กติกาสัญญาแบกแดดจวบจนกระทั่งอิรักถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกเมื่อปีค.ศ.1959ภายหลังจากเกิดการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลนิยมตะวันตกในอิรักชาติที่เป็นสมาชิกในช่วงหลังปีค.ศ.1959ได้แก่ อังกฤษ อิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นถึงแม้ว่าจะมิได้เป็นชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการแต่ก็ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้โดยได้ลงนามในข้อตกลงแบบทวิภาคีกับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี 

 โดยมีภาระผูกพันที่จะให้การช่วยเหลือชาติที่ลงนามในสนธิสัญญานี้ต่อต้านการโจมตีของคอมมิวนิสต์ มีการจัดตั้งคณะมนตรีทำหน้าที่เป็นองค์กรสูงสุดขององค์การทั้งนี้โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะกรรมาธิการหลักๆอีก4คณะ(คือ คณะกรรมาธิการฝ่ายทหาร คณะกรรมาธิการฝ่ายเศรษฐกิจ คณะกรรมาธิการฝ่ายต่อต้านการบ่อนทำลาย และคณะกรรมาธิการฝ่ายประสานงาน) อีกทั้งยังมีสำนักเลขาธิการที่มีเลขาธิการใหญ่เป็นหัวหน้า โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงอังการา ประเทศตุรกี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น